จารีตของคนทะเลนับแต่ยุคเรือฉลอมใบ
มาจนถึงเรือตังเกนั้น
มีอยู่อย่างหนึ่งซึ่งดำเนินไปภายใต้ความเชื่อที่ว่า
ความมั่งคั่งข้างท้องทะเลที่จะไหลมาสู่
มิได้เกิดจากน้ำพักน้ำแรง
อันเป็นฝีมือของมนุษย์เพียงอย่างเดียว
คำว่า ‘โชคชะตา’ก็มีส่วนช่วยอยู่อย่างมาก
ทำไมกับท้องทะเลกว้างที่ไม่มีเรือลำไหน
รู้ว่าฝูงปลาอยู่ที่ไหนเรือของเราหรือของเขา
ถึงได้ไปพบมันและเอามันขึ้นมาจากน้ำได้เล่า 
เช่นเดียวกับเรือที่ต้องเล่นเรือ
อย่างว้าเหว่อยู่ทุกค่ำคืน
โดยที่มิได้เห็นปลาเลยแม้สักตัวนั้น
คนทะเลมักจะบ่นว่าคืนนี้กูโชคไม่ดีเลย


นักรบเข้าสงครามพร้อมด้วยเครื่องรางของขลัง
ทั้งที่เขาก็มีฝีมือและอาวุธพร้อมอยู่ฉันใด
คนเรือตังเกก็ฉันนั้นเขาออกทะเล
อย่างแฝงความศรัทธาส่วนหนึ่งไว้กับแม่ย่านางหัวเรือ
เจ้าพ่อประจำช่องเขาที่ตระหง่านอยู่ริมฝั่ง
หรือไม่ก็เจ้าแม่ประจำศาลตามเกาะที่เขาคุ้นเคย
และไม่เพียงแต่ประทัดที่เขาจุดแสดงความเคารพ
ขนมนมเนยและหัวหมูที่เขาเซ็นไหว้เอาใจ
พร้อมกับผ้าแพรพลิ้วไหวห่มคลุมโขนเรือเท่านั้น
แต่เขาจะให้สัญญาในความกรุณา
ของพ่อแม่ที่สถิตอยู่ในหัวใจ
นอกเหนือไปจากนี้ด้วยละครชาตรี
และหนังตลกเร่ชั้นดีที่ ‘ลูกช้าง’บนบาน




-อัศศิริ ธรรมโชติ

ทะเลและกาลเวลา
๖.ยามตะวันชิงพลบชายหาดมอมะกัน สุชาติ ชูลี หยุดเวลาไว้ที่ ทวาย
322256208 1868800503469593 2383665136426745584 n
93372476 3254526084579985 6354028725700395008 n