บันทึกคนหลงทาง : อัยย์ รินทร์

ภายใต้แสงนีออนที่ใช้พลังงานจาก โซล่าร์เซลล์เพียงหนึ่งดวง และบทสนทนาคำบอกเล่าถึงความเป็นมาของครอบครัวจิตรสำเริง “หนูเกิดและเติบโตในชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ในพื้นที่รอยตะเข็บชายแดนไทย-พม่า วัย ๘ ขวบ ต้องวิ่งหลบหนีกระสุน ระเบิด จากการปะทะระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย ข้ามภูเขาตะนาวศรีมากับคุณตาคุณยาย ลงหลักปักฐานที่ปิล๊อกคี่ ส่วนสามีเป็นทหารกองกำลังชนกลุ่มน้อย ต่อสู้กับทหารพม่าต่อมาตัดสินใจวางอาวุธเดินทางเข้ามาอาศัยที่สังขละบุรี จนได้แต่งงานกับหนูมีลูกรวมสี่คน สุวิทย์เป็นลูกคนที่ ๒ พวกเรายึดอาชีพปลูกมันสำปะหลัง ปลูกข้าว ทำสวนยางเลี้ยงสัตว์และหาเก็บของป่าขาย”

เที่ยวปิล็อกคี่

โดยปกติแล้วสุวิทย์ไม่ค่อยได้กลับบ้าน เนื่องจากการเดินทางจากโรงเรียนร่มเกล้าฯ กลับไปที่บ้านปิล๊อกคี่ แต่ละครั้งสุวิทย์ต้องนั่งรถต่อเรือต่อรถ เขาจึงเลือกเป็นนักเรียนประจำเช่นเดียวกับเพื่อนอีกหลายคน ไม่นานนักวงสนทนาเริ่มปรับเปลี่ยนมาสู่การบรรเลงบทเพลงจนดึกดื่น ก่อนจะแยกย้ายกันเข้านอนผมทิ้งคำถามกับพ่อแม่สุวิทย์… 

 “ใครตัดต้นไม้จนภูเขาเหี้ยนเตียน ?”

… ไก่โต้งโก่งคอขันรับอรุณรุ่ง สายฝนยังคงทำหน้าที่ตั้งแต่เมื่อวานจวบจนกระทั่งเช้าวันนี้ก็เริ่มกระหน่ำลงมาอีกระลอก  คณะร่วมเดินทางหลายท่านตื่นมานั่งพูดคุยสนทนา แม่ของสวิทย์ก็ตระเตรียมน้ำร้อนและกาแฟแบบซองก่อนวงล้อมสภากาแฟก็เริ่มขึ้น 

“เอ่อ…คุงคูคะ! หนูขอตอบคำถามที่ครูถามไว้เมื่อคืนนี้ ก่อนที่พวกหนูจะมาอาศัยที่นี่ ต้นไม้ ผืนป่านั้นถูกตัดทำลายไปก่อนแล้ว จากสัมปทานหรือกลุ่มนายทุนลักลอบตัดไม้ พวกหนูจะตัดต้นไม้แต่ละครั้งก็เพื่อความจำเป็น เอามาทำเสา โครงบ้าน ไม่ได้ตัดเพื่อค้าขาย” แม่สุวิทย์หยุดพูดขณะยื่นแก้วน้ำร้อนส่งผม พร้อมรอยยิ้ม

เที่ยวปิล็อกคี่

    “คนอยู่กับป่าย่อมรู้คุณค่าของผืนป่า คนมาจากแดนไกลมองเห็นทุกสิ่งแปรค่าเป็นเงิน…ย่อมไม่รู้ค่าธรรมชาติ หนูดีใจมากที่ได้มาอาศัยในแผ่นดินไทยแผ่นดินที่มีพระมหากษัตริย์ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงดีมาก ๆ ”  แม่ของสุวิทย์เลื่อนสายตาไปยังรูปที่แปะอยู่ที่ฝาบ้าน โดยมิได้จำเอ่ยคำอธิบายอะไร  

การมาเที่ยวบ้านสุวิทย์ในครั้งนี้ อาจลำบากสำหรับคนที่อยู่กับความสะดวกสบาย คิดแล้วน่าใจหาย ที่พระมหากษัตริย์ไทยพระองศ์หนึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปทุกที่ ทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทย ด้วยเหตุนี้กระมัง พระองศ์จึงทรงเป็นที่รักยิ่ง ธ ทรงสถิตย์ใจทั้งผอง “ในหลวงรัชกาลที่ ๙”

คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นได้ การดำรงชีวิตท่ามกลางความทุกข์ยากมองเห็นอีกด้านที่งดงาม ดังคำหนึ่งของหลวงปู่ติช นัท ฮันท์ที่ว่า “No mud ,No lotus” ไม่มีโคลนตมก็ไม่มีดอกบัว 

บ่ายวันนั้นเราแยกย้ายกันไป ภาพบันทึกต่าง ๆ ที่ถูกถ่ายเอาไว้เป็นเสมือนเครื่องมือหยุดกาลเวลา ลาก่อนชั่วขณะ วันข้างหน้าเราอาจได้มาเที่ยวบ้าน “สุวิทย์”กันอีกหรือไม่! โอกาสนั้นคงจะไม่มีเสียแล้ว ทว่าสิ่งที่ได้จากประสบการณ์การเดินทางในครั้งนั้นยังคงหลุดลอยมาจากความทรงจำ ทุกครั้งที่หยิบหนัง หรือภาพถ่ายขึ้นมาดู ให้นึกถึงเหตูการณ์ วันวานเมื่อกาลครั้งนั้น อยู่ร่ำไป.

IMG 6235
23795549 1684781631573619 535247686689158770 n 1

ขอบพระคุณท่าน

อจ. ฟ้อน เปรมพันธุ์ ผอ.สำนักวัฒนธรรม มรภ.กาญจนบุรี, ครูเล็ก บ้านใต้, อจ.สมปอง ดวงไสว ,อจ.ศักดา ภุมรินทร์ ผอ.โรงเรียนร่มเกล้ากาญจนบุรี, ครูกิ้งและครูเอ็มท่ีร่วมกันเดินทางไปเที่ยวบ้านสุวิทย์

ขอบคุณ

เสาวณีย์ จิตสำเริง (แม่), โบ เจ๊ะ (พ่อ) ด้วยใจจริง…

ที่มาหนังสือ : นพมณีกาญจน์

จัดทำโดย สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี