บันทึกคนหลงทาง : อัยย์ รินทร์

‘ต้อนให้ย่ำเหยียบไปรอบ ๆ เสาเกียด ย่ำไปเถอะเจ้าเพื่อนยาก ย่ำให้เมล็ดข้าวหลุดจากรวง( เสาเกียด – ไม้ปักกลางลานสำหรับผูกวัว หรือ ควายในการนวดข้าว)’
คำอธิบายภาพจากหนังสือ “สู่ขวัญข้าวพระเจ้าแผ่นดิน “ ภูมิปัญญาของชาวนาไทยที่สืบสานกันมาอย่างยาวนาน หากแต่ในยุคปัจจุบันความสำคัญของควายลดน้อยถอยลงด้วยเพราะนวัตกรรมสมัยใหม่ที่ไม่ต้องใช้แรงงาน ‘สัตว์’ ให้เป็นประเด็นดราม่า 

มนุษย์ใช้แรงงานสัตว์ตั้งแต่ยุคโบราณกาลกระทั่งทุกวันนี้ก็ยังมีให้เห็น แต่สิ่งที่แตกต่างคือสายสัมพันธ์ระหว่างผู้ชุบเลี้ยงดูแลสัตว์จนมีวัฒนธรรมความเชื่อ เพื่อเป็นการระลึกถึงบุญคุณของวัว-ควายที่ช่วยมนุษย์ทำนา รวมไปถึงการขอขมาที่ได้ ด่า ว่า เฆี่ยนตี ระหว่างการใช้งาน 

IMG 1850



ภาคเหนือเรียกว่า “ฮ้องขวัญควาย เรียกขวัญควาย” หรือ “เอาขวัญควาย 
ภาคอีสานเรียก “สู่ขวัญควาย” 
ชาวไทยเขมรสุรินทร์ เรียก ฮาวปลึงกระไบ 

พิธีทำขวัญควายมักจะจัดขึ้นหลังจากได้ปลูกข้าวดำนาเรียบร้อยแล้ว ด้วยความสำนึกในบุญคุณ เจ้าของจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญควายให้ควายกินหญ้าอ่อน ทำขนมอาหารเลี้ยงวัว-ควาย และนำควายไปอาบนํ้าขัดสีฉวีวรรณ เอาอกเอาใจ เอาดอกไม้ธูปเทียนขอขมา 

IMG 3045

เรื่องราวเหล่านี้มักจะไม่ปรากฏในประเทศที่เจริญก้าวหน้า เพราะพวกเขาชำนาญกับการคุกคามและยึดครอง ดังปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์โลก จากยุคบุกเบิกเดินเรือศึกษาเส้นทาง สู่การค้า และสงครามยึดครอง บีบบังคับ ยุยงส่งเสริม ข่มเหงรังแกผู้ที่อ่อนแอกว่า บางทีความล้าหลังที่ยึดโยงถึงสายใยแห่งรัก อันแสดงออกถึงความผูกพันระหว่างมนุษย์กับ ‘สัตว์’ ก็มีคุณค่าเกินคำบรรยาย

มา มา มะ มาตระมาศรีมา เป็นเขยแก้วกล้า ทอง แหวน จงไหลมากันในวัน…นี้… 
…บายศรีสู่ขวัญควาย…สายสัมพันธ์ระหว่างชาวนากับควายผู้มีคุณ

IMG 3067 1

https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php?nid=34469

มหาวิทยาราชภัฏจันทรเกษม :ผู้สนับสนุนโครงการ

เรือนพิมพ์แม่ชอบ : ผู้บริหารโครงการและจัดกิจกรรม