ศักดิ์สิริ มีสมสืบ :​Producer / คำร้อง/ทำนอง/ เรียบเรียงดนตรี​ /ขับร้อง
Music snack studio : บันทึกเสียง

โอ้ลังกาวี​ อินทรีทะยาน​ ผ่านล่วงห้วงกาลทะเลเวลา​
ปีนังยังคงล้ำเลอค่า​ คืนวันไม่เคยร้างนาวาเยือน​
เรือเดินทะเล​ ในระงมคลื่นลมเคล้าเห่เร่ลอยตามความฝันมา​
เรือในตำนานนานสักเพียงใด​ จดจารอยู่ในหัวใจตรึงตรา​
เตาไฟกองฟืน​ ควันปืนเปลวไฟ​ เลือดเนื้อเหงื่อไคลน้ำใจน้ำตา

มะละกาแดนไกล​ เรือโปรตุเกสข้ามเขตทะเลเร่รอนแรมมา​
ชาวจีนโพ้นไกลฝังกายอยู่​ ถิ่นมาลายูรัดรึงวิญญา
เปอรานากัน​ ยามเช้าความรักทอแสงงามเบิกตะวันยามทิวา
เรือฮอลันดา​ นาวาบริเตน​ กฏเกณฑ์กฏกรรมชักนำชะตา​
เรือในตำนานนานสักเพียงใด​ ผ่านมาผ่านไปนิยายเรื่องยาว

โอ้มะละกา​ ตรึงตาตรึงใจ​ ค่ำคืนตามไฟวิไลรุ่งเรือง​
เมืองมรดกโลกลือเลื่อง​ ประเทืองอยู่ในหัวใจผู้คน​
เมืองในทรงจำ​ วันแสนงามและเดือนแสนดีแห่งปีที่เรืองแสงทอง​
เรืองรองรวียินดีปรีดา​ กระกาศอิสราฟ้ามาเลเซีย

โอ้…มะละกา​
บทเพลงและภาพวาดความประทับจากการที่ ศักดิ์สิริ มีสมสืบ ได้ท่องไปในดินแดนเพื่อนบ้าน อาเซียนนำมาร้อยเรียงผ่านอัลบั้มเพลง “สบตาอาเซียน”

ขอบพระคุณ :
คุณเหมียวใจดี :ผู้สนับสนุน

ฟังเพลงได้ที่ :

เกร็ดความรู้ฉบับย่อ:

“มะละกา”เมืองท่าเก่าแก่ที่มีลักษณะพหุลักษณ์ทางสังคมเพราะเป็นเมืองท่าตั้งอยู่บริเวณช่องแคบระหว่างคาบสมุทรมาลายาและเกาะสุมาตราในทะเลอันดามัน เรียกขานกันว่า “ช่องแคบมะละกา”ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานามีติดต่อค้าขายหรือเป็นเมืองเศรษฐกิจ จนได้รับฉายาว่า Golden Age หรือ ขวานทอง

ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ครั้งเจิ้งเหอเดินเรือท่องมหาสมุทรมายังแถบเอเชียอาคเนย์ และเอเชียใต้ เพื่อสร้างไมตรีอันดีและคลี่คลายปมปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างเสียนหลอ(กรุงศรีอยุธยาตอนต้น) – มะละกา – ลังกา และการมาเยือนครั้งที่สองของเจิ้งเหอ ยังมีส่วนในการปรับเปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองภายในของกรุงศรีอยุธยาครั้งสำคัญอีกด้วย 

มะละกาเข้าสู่ยุคอาณานิคมโดยตกเป็นของโปรตุเกสเมื่อ พ.ศ.๒๐๕๔ พวกดัตช์แย่งชิงมาด้วยการโจมตีเมื่อ พ.ศ. ๒๑๙๔ หลังจากนั้นมากกว่าศตวรรษ กระทั่งเกิดสงครามนโปเลียน พ.ศ.๒๓๓๘ ดัตช์ได้มอบมะละกาให้อังกฤษเพื่อเป็นรัฐกันชนแก่ฝรั่งเศส ก่อนจะถูกนำมาแลกกับ “บังกาลูลู”ในเกาะสุมาตรา เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ เป็นต้นมา

 นอกจากนี้เมืองมะละกายังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์แห่งชาติมาเลเซีย หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ต่อต้านอาณานิคมกระจายไปทั่วในกลุ่มผู้รักชาติ เมืองมะละกาเป็นที่ประกาศเอกราชของนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย ตนกู อับดุล มารัน ปุตรา ที่บันดาร์ฮิเลร์ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง :
https://prachatai.com/journal/2012/10/43299
https://lek-prapai.org/home/view.php?id=341
https://mgronline.com/china/detail/9480000071251