เรื่องและภาพ : ธีรภาพ โลหิตกุล

ปางเมื่อพระองค์ปรมพุทธ ธ วิสุทธศาสดา
ตรัสรู้อนุตตรสมาธิ ณ โพธิบัลลังก์ 
ขุนมารสหัสสพหุพาหุวิชาวิชิตขลัง 
ขี่คิริเมขละประทัง คชเหี้ยมกระเหิมหาญ 

…..

*หน้าบันไม้แกะสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติ ตอนผจญมาร โดยปกติเรามักพบเห็นภาพนี้เป็นจิตรกรรมฝาผนังประดับด้านหลังพระประธานในโบสถ์หรือวิหาร
….แต่วัดนี้นำขึ้นไปโชว์ไว้ที่หน้าบัน เป็นงานปิดทองประดับกระจกสีที่วิจิตรตาน่าชมอีกชุดหนึ่ง เช่นเดียวกับลายฉลุไม้ฝีมือเยี่ยมที่ศาลาการเปรียญวัดแวงจาม อำเภอลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี

“แวงจาม” เป็นวัดของชาวมอญที่อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยถิ่นฐานเดิมของพวกเขาคือเมือง “แวงจาม” ในรัฐมอญ ทางตอนใต้ของลุ่มน้ำอิระวดี และ

…..

ด้วยความรักถิ่นฐานบ้านเกิด เมื่ออพยพหนีสงครามมาลงหลักปักฐานใหม่ จึงตั้งชื่อบ้านแบบเดิมว่า “แวงจาม” แปลว่า วังจระเข้ หรือคุ้งน้ำที่มีจระเข้ชุกชุม ประจวบเหมาะกับแม่น้ำเจ้าพระยา ณ จุดที่ตั้งบ้านแวงจาม (ใหม่) ยามนั้นก็ร่ำลือกันว่ายังมีจระเข้ชุกชุมจริงๆ เสียด้วย กระทั่งถึงปี ๒๔๘๒ จึงได้ชื่อเป็นภาษาไทยว่า “วัดท้ายเกาะใหญ่


*********
*บางตอนจากบทความ “แวงจาม อารามพิสุทธิ์เมืองสามโคก” คอลัมน์ เรื่องเล่าวันวาน นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

*ขอขอบคุณ 

ดร.องค์ บรรจุน ผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมมอญ ผู้ให้ข้อมูล
และ คุณสุชาติ ชูลี ผู้ชักชวนให้ไปชมวัดสวยแห่งนี้