บันทึกคนหลงทาง : อัยย์ รินทร์

ริ้วคลื่นสะท้อนแสงวาววับ ฉากหลังทิวเขาสลับซับซ้อนทอดยาวสุดตา  ในขณะที่เสียงสนทนาของผู้คนบนเรือลำน้อยที่นำพาคนสองฟากฝั่งข้ามสายนทีแห่งชีวิต จากหยดน้ำเย็นยะเยือกเทือกเขาหิมาลัย สู่ต้นน้ำทิเบต จีน รัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง รัฐคะเรนนีและรัฐมอญ จนถึงปากแม่น้ำที่มะละแหม่ง  เป็นแม่น้ำสายนานาชาติ  “แม่น้ำสาละวิน” ที่หล่อเลี้ยงผู้คนหลากหลายชาติพันธ์ุ และแม่สายนั้นกำลังถูกคุกคาม มิใช่เป็นครั้งแรกหากมหานทีสายนี้ถูกรุมทึ้งมานานแสนนาน

ยุคสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  เมื่อสหราชอาณาจักร ได้ปลดปล่อยให้อิสรภาพแก่พม่าหรือเมียนมา ทว่ากลับกลายเป็นเงื่อนไขแห่งความขัดแย้งระหว่างชนพม่าและกะเหรี่ยง  บริเวณเขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่า ลุ่มน้ำสาละวินคือฐานที่มั่นของกองกำลังปลดปล่อยเพื่อความเป็นอิสระ บนดินแดนที่ไร้ซึ่งกฎหมาย และผืนป่าสักอันอุดมสมบูรณ์ยั่วยวนใจเหล่าคนโลภ  ทุกชีวิตที่มีลมหายใจอยู่ในเขตนี้ล้วนอยู่ภายใต้กฎของปืน จึงเป็นที่มาของ  หนึ่งในผลงานคลาสสิคของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล“มือปืน ๒ สาละวิน” ผลงานในปี พ.ศ. ๒๕๓๖

เมื่อหิมะละลาย กลายเป็นสายธารา
จากเขาสูงเสียดฟ้า ไหลลงมาสู่อันดามัน
ผ่านแผ่นดินหลากหลาย
ผ่านคนมากมายเผ่าพันธุ์
ล้านๆ เม็ดน้ำรวมกัน
เป็นหนึ่งเดียวกันนั้น สาละวิน”

***ท่อนหนึ่งจากเพลงสาละวิน คาราบาว

สาละวินยังคงไหลลาดลงสู่เบื้องล่าง พาดผ่านขุนเขา ราวป่า สรรพสิ่งได้ดื่มด่ำมหานทีแห่งชีวิต และโครงการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อได้พลังงานบริสุทธิ์กด้วยการผันน้ำจากลุ่มน้ำสาละวินไปยังเขื่อนภูมิพล เสียงสะท้อนของกลุ่มคนชาติพันธุ์ที่ออกมาปกป้อง แม่น้ำสาละวิน 

ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งพฤติกรรมการใช้น้ำ ดังนั้น ควรแก้ไขตรงนี้ก่อนดีกว่า เพราะแม้จะเป็นการผันน้ำแต่การที่ปริมาณน้ำเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติย่อมส่งผลกระทบตามมามากมาย ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะไม่สอดคล้องกับภูมินิเวศที่เคยเป็นมา ” นายนิวัฒน์ กล่าว

นายพฤ โอ่โดเชา ตัวแทนเครือข่ายกะเหรี่ยงภาคเหนือ กล่าวในวันหยุดเขื่อนโลก “เคยได้ยินแต่เรื่องราวของคนในแม่น้ำสาละวินที่เป็นคนต้นน้ำแตกต่างจากพื้นที่-ที่ตนอยู่ เป็นแม่น้ำสายเล็ก ตนได้เห็นพิธีเลี้ยงผีสบน้ำสำหรับคนต้นน้ำ ชีวิตของเขามีเรือนแพผูกพันกับน้ำ ถือว่าเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งในน้ำและบนบก โดยชาวบ้านเข้าใจเกาะแก่งและหินอย่างดี รวมทั้งการปลูกพืชผักซึ่งเป็นรายได้สำคัญ คนกะเหรี่ยงอยู่ได้เพราะธรรมชาติ หากรัฐหรือใครมาแย่งชิงผืนดินผืนน้ำไปก็เท่ากับเป็นการฆ่าชาวกะเหรี่ยง เพียงแต่ไม่ได้ฆ่าแบบมีเลือดออกมา แต่ฆ่าด้วยความเลือดเย็น ค่อย ๆ ตายไป 

ปัจจุบันบริเวณตอนเหนือของแม่น้ำสาละวินซึ่งอยู่ในประเทศจีนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติตลอดทั้งลำน้ำเป็นที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อุดมสมบูรณ์ในเรื่องทรัพยากรโดยเฉพาะป่าไม้ที่ชาวบ้านยังดูแลรักษาไว้อย่างดี จึงน่าจะเชื่อมต่อให้เป็นมรดกที่โลกควรจดจาร

อ้างอิงบทความเกี่ยวเนื่อง:

https://www.naewna.com/likesara/401742?fbclid=IwAR2W7qBG_c9PzeLw2b3TSOpvwjoKF1wy-zq6PVYeIrjsA-dTE6Bi6qY1pUY