เรื่องและภาพ : อัยย์ รินทร์

“อุษาคเนย์ดินแดนที่ปัจจุบันมีประชากรประมาณ ๖๒๕ ล้านคน เป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชนชาติ มีภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ พื้นที่ชายทะเลและเต็มไปด้วยหมู่เกาะ อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติไม่ว่า พืชพรรณ สัตว์ป่า และแร่ธาตุต่างๆ ทำให้เป็นเมืองค้าขายทางทะเลกับนักเดินเรือต่างถิ่นมากมายมาตั้งแต่สมัยโบราณ การแลกเปลี่ยนค้าขายและย้ายถิ่นฐานยังทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างชนชาติ การน้อมรับ – ปรับใช้นี้เองเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมอุษาคเนย์”

IMG 2584



…. หลังโยกย้ายสำมะโนครัวมาเป็นประชากรเมืองปทุมธานีเมื่อ ๑๐ กว่าปีที่ก่อน ผมขับรถตระเวณบริเวณสองฟากฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเรียนรู้ความเป็นมาของถิ่นฐานบ้านเรือน เตาเผาอิฐมอญเมืองสามโคก แวะนมัสการหลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย วัดสิงห์ กระทั่งผมขับรถผ่านมาที่วัดเจดีย์ทอง ซึ่งมีเจดีย์สถาปัตยกรรมมอญที่เลียนแบบเจดีย์จิตตะกอง เมืองหงสาวดี เมียนมา รวมทั้งมีสถูปทรงระฆังก่อด้วยอิฐฐานรูปสี่เหลี่ยม มีซุ้มจระนำโค้ง รายล้อมด้วยกำแพงแก้ว วัดเจดีย์ทองตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก พื้นที่ “ชาวมอญสามโคก”

ชาวมอญที่นักมนุษย์วิทยาในยุคสมัยหนึ่งได้จัดกลุ่มชนโบราณ ว่าอพยพมาจากจีนตอนใต้ กลุ่มแรกพม่า-ทิเบตประกอบด้วยชาวพิวหรือพยูหรือปยุ มาตั้งถิ่นฐานทางตอนกลางของพม่า เรียกว่าอาณาจักรศรีเกษตร(สารเกษตร) กลุ่มที่สอง เป็นพม่า-ทิเบต กลุ่มการันหรือพวกยะไข่ มาตั้งชุมชนด้านตะวันตกของพม่า ติดอ่าวเบงกอลคือเขตยะไขของพม่าในปัจจุบัน และอีกกลุ่มชาวมอญ-เขมร ที่อพยพมาตามลุ่มแม่น้ำจากสาละวิน มาตั้งถิ่นฐาน ตั้งเมืองบริเวณปากแม่น้ำ คือเมืองสะเทิม หรือแคว้นสุธรรมวดี ซึ่งแคว้นแห่งนี้ได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาและวัฒนธรรมอินเดีย จนถือได้ว่าเป็น “หน้าต่างทางอารยธรรม” ทว่า…

หลักฐานข้อมูลอ้างอิงของยุคหนึ่งมิใช่คำตอบที่ถูกต้องในยุคสมัยใหม่ เมื่อ“ขอม”หรือ “ฟูนัน”อาณาจักรของชาวขอม ในสมัยโบราณเรียกว่า “วยาธปุระ” มีอาณาเขตครอบคลุมประเทศกัมพูชาทั้งหมด และบริเวณภาคกลางของไทย เจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๗-๑๐ ที่ครอบคลุมอาณาบริเวณภาคอีสานไปจนถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ในยุคสมัยที่ไม่มีแนวสันปันน้ำขีดเส้นแบ่งระเบิดเวลาตามลัทธิจักรวรรดินิยม “ทราวดี” ศูนย์กลางของมอญที่สันนิษฐานว่าตั้งอยู่ที่

“สะเทิม มาจากคำว่า สะทูในภาษาต้องซู่ แปลว่า ศิลาแลงเพราะมีศิลาชนิดนี้มากที่ภูเขาใกล้เมืองสะทู มีอาณาเขตและที่ตั้ง-ตั้งแต่บริเวณเมืองสะเทิมในพม่า มาถึง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือปัจจุบัน เหล่านี้ล้วนยืนยันได้ว่า มนุษย์นั้นมีการโยกย้ายถิ่นฐาน รุกรานเพื่อขยายอำนาจและสร้างชุมชน สร้างเมืองสร้างอารยธรรมที่เข้มแข็งซ้อนทับกลุ่มชนดั้งเดิม

IMG 2624


เฉกเช่นเดียวกับปทุมธานีหรือประทุมธานี เมืองในอดีตที่คุ้นเคยในนาม”สามโคก” เมืองที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ที่สำคัญคือความเป็นส่นหนึ่งในดินแดนศูนย์กลางแห่งอุษาคเนย์และในฐานะเมืองชายขอบที่เปรียบเสมือนทางผ่านระหว่างกรุงศรีอยุธยาฯ ครั้งรุ่งเรืองและกรุงเทพมหานครฯ ไม่ว่ากาลเวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตที่มีการโยกย้านถิ่นฐานกันอย่างง่ายดาย…เมื่อแนวพรมแดนมิใช่อุปสรรคต่อการโยกย้าย อยู่อาศัย ทำมาหากิน…โลกที่เชื่อมโยงด้วยโลกเสมือนและการเคลื่อนย้ายแรงงาน…ความจริงที่ปฎิเสธไม่ได้…คือ”รู้ เข้าใจ ในเขาและตัวเรา” ที่ไม่ได้มีอะไรแตกต่างมากไปกว่าคำว่า….”มนุษย์”



คำอธิบายภาพ

###วัดเจดีย์ทอง วัดไทยซึ่งมีอายุเก่าแก่ มีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลักฐานที่พบคือใบเสมาขนาดใหญ่หินทรายแดง ศิลปะอยุธยาต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวรามัญได้อพยพหนีพม่าจากเมืองเมาะตะมะ โดยมี พระยาราม ราชบุตรเขยพระยาเจ่ง หรือเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) เป็นพระเจ้ามหาโยธาเป็นผู้นำ เข้ามาอาศัยอยู่ทั่วเมืองสามโคก เป็นผู้ริเริ่มบูรณะวัดเจดีย์ทอง พร้อมทั้งสร้างถาวรวัตถุ กุฏิ ศาลาขึ้นใหม่ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ วัดเจดีย์ทองมีความสำคัญต่อชุมชนด้วยเพราะเป็นศูนย์รวมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีนามว่า “พระพุทธรูปหยกขาว” หรือ “หลวงพ่อขาว” พระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างขึ้นจากการแกะสลักด้วยหินหยกขาวพม่า โดยแกะสลักด้วยมือ ศิลปะแบบพม่า เล่ากันว่า หลวงตาอมรา พระภิกษุของวัดเจดีย์ทอง เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาด้านบาลี ณ เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๒ ครั้นท่านเดินทางกลับได้อัญเชิญ “พระพุทธรูปหยกขาว” ลงเรือจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่ามาประดิษฐาน ณ วิหารวัดเจดีย์ทองและ “โกศ” ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อบรรจุอัฐิ ศิลปะพม่าและมอญผสมผสมผสานกันดูแปลกตาน่าชมยิ่งนัก ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบแบบจีน ตั้งอยู๋ใกล้ๆกับเจดีย์สีทอง


มอญ
ภาพเจดีย์ทองถ่ายเมื่อ ๓ ปี ที่แล้ว



อ้างอิง:บทความ “อาเซียน” ในตัวเรา มี “ตัวเรา” ในอาเซียน
หนังสือ “วิวิธ อาเซียน” จัดพิมพ์โดยกระทรวงวัฒนธรรม
เรือนพิมพ์แม่ชอบ:บริหารจัดการโครงการ
ขอบคุณ :ธีรภาพ โลหิตกุลและฮ.ศุภวุฒิ จันทสาโร

โปรดติดตามเล่าเรื่องเมืองประทุมธานี…ตอนต่อไป