เรื่องและภาพ: อัยย์ รินทร์

บ้านไม้สองชั้นหลังใหญ่กลับเล็กลงไปถนัดตา บรรดาเหล่าเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง ญาติสนิท มิตรสหายต่างมาร่วมงานอุทิศบุญกุศลเนื่องในโอกาสครบรอบ ๒๐๐ วันจากไปของบิดา-มารดาเจ้าของบ้าน บรรยากาศงานบุญแสดงให้เห็นถึงความกตัญญู เป็นรากฐานของความดีงามคือคุณธรรมที่ปลูกฝังมาเนิ่นนาน สิ่งที่เห็นเด่นชัดคือน้ำใจไมตรีและสายสัมพันธ์ของคนในชุมชน ภาพกลุ่มแม่บ้านสาวล้างจานชามข้างบ่อน้ำ ลานใต้ทุนบ้านโต๊ะสำรับอาหารรอผู้มาร่วมงานโดยมีผู้อาสาคอยเติมอาหารไม่ให้พร่อง

ประตูรั้วทางเข้าลานบ้าน…มุมที่ทุกคนต้องแวะเวียนไปหยิบใบพลู ปาดปูน ใส่เครื่องหอมและมะพร้าวแก้ว ผมกับคณะขึ้นไปบนบ้านซึ่งเวลานั้นคับคั่งไปด้วยผู้คนที่มาร่วมงาน นั่งล้อมวงพูดคุย บางคนสูบยา นั่งเคี้ยวหมากตุ้ย ตุ้ย ห้องโถงกึ่งกลางของบ้านพระภิกษุสงฆ์กำลังฉันเพล ทั้งคาว หวานและผลไม้ ทั้งๆ ที่ในท้องยังอัดแน่นด้วยเส้นคะหนอมจิน แต่ผมและคณะเดินทางจำต้องนั่งร่วมวงเปิบอาหารตามคำเชื้อเชิญเจ้าของบ้าน จะว่าไปบ้านเราหรือในประเทศเพื่อนบ้าน อาจเลยไปถึงระดับเอเซียตะวันออก และสิ่งๆ นั้นบ่งบอกถึงการระลึกถึงคุณงานความดีและความกตัญญูรู้คุณต่อบิดา-มารดา บรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์หรือพระมหากษัตริย์

IMG 4986

ว่ากันว่าการทำบุญอุทิศส่วนกุศลนั้นมีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อคราพระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างวัดเวฬุวันถวายแด่พระสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงไม่ได้อุทิศส่วนกุศลให้พระญาติในอดีตชาติที่ละโลกไปเกิดเป็นเปรต เปรตเหล่านั้นต่างมาเฝ้ารอรับผลบุญด้วยการปรากฏกายให้พระองค์ทอดพระเนตรเห็น พระเจ้าพิมพิสาร ทรงกราบทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า…
“ทำไมพระองค์จึงเห็นและได้ยินเสียง เปรตมาร้องโหยหวนอยู่เต็มไปหมด?”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พระเจ้าพิมพิสารทำบุญ เลี้ยงพระ กรวดน้ำอุทิศบุญให้ เมื่อได้รับส่วนบุญส่วนกุศลเหล่าเปรตก็กลายสภาพไปเป็นเทวดาด้วยอำนาจแห่งบุญ แม้เขตแดนเป็นตัวชี้ชัดถึงความเป็นรัฐ แต่วัฒนธรรมที่มีความเชื่อมโยงและจากความเชื่อความศรัทธา ก่อนมีพระพุทธองค์เรานับถือผี นับถือเทพเจ้านั่นคือวิวัฒนการของความเปลี่ยนแปลงจวบจนทุกวันนี้อาจพูดได้ไม่เต็มปาก ไม่มีใครปฏิเสธถึงรากเหง้าที่คล้ายคลึงกันและบางสิ่งก็คล้ายเสียจนแยกไม่ออกด้วเสียด้วยซ้ำ อย่าได้เอ่ยถามว่าใคร? คือต้นทางที่มาเพราะสภาพแวดล้อมที่แทบจะแยกไม่ออกเสียด้วยซ้ำ หากแต่มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับรูปแบบและสังคม

IMG 5012

หลังอิ่มเอมกับสำรับอาหารมอญรสอร่อย ก่อนจะก้าวเท้าออกจากรั้วบ้านจึงหยุดรับหมากพลู เคี้ยวไปก็นึกถึงยุคหนึ่งในบางประเทศ เพื่อแสดงถึงมีความอารยะรัฐบานในสมัยนั้นจึงออกคำสั่งห้าม! ประชาชนในประเทศเคี้ยวหมาก

             “…ในสมัยก่อน ใคร ๆ ก็กินหมาก ดังนั้น ฟันสวยคือฟันที่มีสีดำหรือดำดั่งนิลเจียระไน ถ้าฟันไม่ดำก็ถือว่าไม่สวย 
             ริมฝีปากไม่แดงเพราะไม่กินหมากก็ไม่สวย ปากที่ไม่แดงนั้นดูซีดเหมือนปลาตายลอยน้ำ เมื่อหญิงสาวโตเป็นวัยรุ่น
             ก็ต้องถูกสอนให้กินหมาก แต่ต่อมา ก็เริ่มมีผู้ที่มีฟันสีขาวมากขึ้น ทำให้ผู้ที่มีฟันดำกลายเป็นคนบ้านนอก อีกทั้ง
            คนกินหมากยังทาลิปสติกไม่ได้ พระยาอนุมานราชธนเองก็เคยกินหมากแต่ก็ได้เลิกแล้ว เพราะรู้อยู่เต็มใจว่ามันไม่ดี
            และยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า หมากนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสกปรกทั้งมือ ผ้านุ่ง กำแพง ถนน สะพาน เสาไฟฟ้า
            ฝาห้อง สนามหญ้า ก็เปื้อนไปด้วยน้ำหมาก ทางหนึ่งที่จะแก้ความสกปรกจึงต้องเลิกกินหมาก ซึ่งนโยบายนี้ก็มี
           ผลให้คนต้องเลิก กินหมากเป็นจำนวนมาก…”

ทว่าสิ่งที่เห็นเด่นชัดในวิถีชาวมอญ ชาวเมียนมา การกินหมากกินพลูคืออัตลักษณ์ ทั้งยังช่วยระงับกลิ่นปากด้วยเครื่องหอมที่มีส่วนประกอบ น้ำมันหอม สีสันและความหวานกลมกล่อมของมะพร้าวแก้ว ทำให้คิดถึงแผ่นดินแม่ที่อะไรต่อมิอะไรประเภทสีเขียว เลื่อนลอย กับใบไม้ผสมน้ำเพิ่มพละกำลังเกลื่อนเมือง ยุคสมัยหนึ่งสิ่งเหล่านี้คือของต้องห้าม แต่ยุคปัจจุบันเพราะนั้นมีกฏหมายรับรองนโยบายจากรัฐบาน อีกไม่นานวัฒนธรรมการเคี้ยวหมากและฟันสวยคือฟันที่มีสีดำหรือดำดั่งนิลเจียระไน ถ้าฟันไม่ดำก็ถือว่าไม่สวย 
ริมฝีปากไม่แดงเพราะไม่กินหมากก็ไม่สวย
ก็คงกลับมาอีกครั้ง

IMG 5028

“จะรับหมากสักคำไหมคะ?!”