บันทึกคนหลงทาง : อัยย์ รินทร์

ฤดูกาลแห่งการอพยพจากฟากทวีปที่ห่างไกลในฤดูหนาว ฝูงนกนานาชนิดต่างโบยหนีความเหน็บหนาว เข้ามาประเทศไทย ในช่วงเดือนพฤศจิกายน จับคู่ทำรัง ผสมพันธุ์ วางไข่ เลี้ยงลูกอ่อน กระทั่งสิ้นสุดฤดูหนาว  ช่วงเดือนมิถุนายน พวกมันก็จะบินกลับไปยังถิ่นฐานเดิม 

นกที่ผมกำลังพูดถึงคือ“นกปากห่าง” ที่มีชื่อเรียกสามัญว่า “Open-billed Stork” ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Anastomus oscitans”เป็นนกอยู่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae)มีถิ่นอาศัยอยู่ในหลายประเทศ พม่า, ลาว, อินเดีย, เวียดนาม, เขมร, โคชินไชนาและไทย

อาหารโปรดของนกชนิดนี้ จะอยู่ในนาข้าวจำพวกหอยเชอร์รี่ หอยโข่ง กุ้ง ปู ปลา สถานที่ๆ ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งอาศัยของนกปากห่าง คือ วัดไผ่ล้อม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี, สวนนกท่าเสด็จ จังหวัดสุพรรณบุรี และสวนนกทั่วไป เช่นสวนนกประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ 

มีเรื่องเล่าถึงการมาของนกปากห่าง กับอีกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ครั้งสำคัญ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงนำเสด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ แห่งราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ทอดพระเนตรนกปากห่าง  ณ วัดไผ่ล้อม

15626010 1406815142684431 8093734483112894593 o 1

ภายใต้บรรยากาศอันแสนเงียนสงบ ร่มเงา แมกไม้ของวัดไผ่ล้อมดูร่มรื่น ฝูงนกปากห่างบินถลาลงไปในทุ่งนา หาอาหารมื้ออร่อยของพวกมัน หลายปีที่ผ่านพวกมันกลับมาอีกครั้งหลังกลายเป็นจำเลย พาหนะนำเชื้อโรคไข้หวัดนก จนถูกเข่นฆ่าตายเป็นเบือ โรคร้ายผ่านพ้นจนกระทั่งทุกสิ่งเข้าสู่สภาวะปกติจึงได้เห็นการกลับของฝูงนกเพนจรที่บินข้ามน่านฟ้าเพื่อคืนสู่สถานที่-ที่พวกมันดำรงเผ่าพันธ์ุ อาศัย หากินตามวิถีแห่งนกปากห่าง.

IMG 1609
#วัดไผ่ล้อมสร้างขึ้น ราว ปี พ.ศ ๑๘๖๐
โดยท่านท้าวมหาพรหม กับท้าวมาลีมหาเศรษฐี อพยพมาจากสุโขทัย จับจองที่ดินทำมาหากิน
ต่อมาได้สร้างวัดขึ้น ให้ชื่อวัดไผ่ล้อม ซึ่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๑๙