เมื่อเริ่มต้นหมุนเพื่อสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งปวง ให้ข้ามพ้นจากทุกข์ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกให้หมุน กลับไม่ได้ เพราะได้แสดงสัจจะที่อยู่เหนือกาลแห่งเวลา
บันทึกคนหลงทาง
เรื่องและภาพ : อัยย์ รินทร์
ราวพุทธศตวรรษที่ ๓-๖ บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา-ยมุนา อาณาจักรที่อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์เมารยะและศุงคะ ในยุคสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก โดยทรงอุปถัมภ์การสังคายนาที่ ๓ และจัดส่งคณะสงฆ์ประกาศ เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังนานาประเทศ สําหรับในประเทศไทย มีการขุดค้นพบพระธรรมจักรกับกวาง หมอบยุคทวารวดี สะท้อนให้เห็นว่ากงล้อธรรมแห่งพระพุทธศาสนาได้หมุนเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ
วงล้อธรรมจักร มีที่มาจาก “ล้อรถศึก”ซึ่งแต่เดิมนั้นกษัตริย์จะทรงใช้รถศึกในการออกปราบรวบรวมแคว้นต่าง ๆ ให้ศิโรราบ อาจเปรียบได้ว่ากษัตริย์รับสั่งให้ล้อรถศึกหมุนไปทางใด พระราชอำนาจจะแผ่ไปถึง
“ธรรมจักร” จึงได้ถูกนํามาสร้างเป็นสัญลักษณ์แห่งธรรมของพระพุทธศาสนา หมายถึงการแสดงพระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีการ เผยแผ่ไปประดุจกงล้อรถหมุนไปอย่างไร้พรมแดนแห่งมนุษย์โลก เทวโลก และพรหมโลก ซึ่งเป็นการแสดงพระสัจธรรมอันเที่ยงแท้ ตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ซึ่งเป็นพระธรรมานุภาพครั้งที่ยิ่งใหญ่ ครั้งหนึ่งในโลก
“ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” ซึ่งเป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ และปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเมื่อแรกตรัสรู้ โดยมี ท่านพระอัญญาโกณพัญญะ ปัญจวัคคีย์ท่านแรก บรรลุดวงตาเห็นธรรมสําเร็จเป็นพระโสดาบัน เหล่าพรหมและเทพในการประชุมครั้งแรก ประมาณ ๑๘ โกฏิ สําเร็จอริยมรรค อริยผล พระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้เกิดขึ้นครบองค์สาม
ถือเป็นกําเนิด วงล้อแห่งธรรมะ เมื่อเริ่มต้นหมุนเพื่อสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามพ้นจากทุกข์ ดังข้อความที่ปรากฏในพระไตร ปิฏกตอนหนึ่งว่า “ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ทวยเทพ ชั้นภุมมะ กระจายข่าวว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิป- ตนมฤทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกให้หมุน กลับไม่ได้ เพราะได้แสดงสัจจะอันอยู่เหนือกาลแห่งเวลา“
ธรรมจักรขนาดใหญ่และจารึกภาษาบาลี-ภาษาสันสกฤตที่เมืองศรีเทพ แสดงให้เห็นว่าศรีเทพเคยเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายาน ปูชนียวัตถุสำคัญที่พุทธศาสนิกชนชาวทวารวดี สลักจากหิน มีลวดลายประดับตกแต่งงดงามเพื่อกราบไหว้บูชา เช่นลายดอกไม้สลับกับสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูน ลายก้านขด ลายคล้ายเปลวเพลิง ซึ่งประดับอยู่ขอบนอกสุด ธรรมจักรหลายองค์มีจารึกข้อพระธรรมคำสอนในพุทธศาสนา เขียนเป็นภาษาบาลี เนื้อหาส่วนใหญ่ได้แก่ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
โดยมีกําแห่งจํานวนซี่อันหลาก หลายตั้งแต่ ๘ ซี่ขึ้นไป เปรียบด้วยหลักธรรมแห่งอริยมรรค มีองค์ ๘ และฐานรองวงล้อธรรมจักรสลักเป็นรูป กลีบบัวคว่ำบัวหงาย เปรียบความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา ล้วนมีคติความเชื่อเพื่อสืบทอดอายุ พระพุทธศาสนาให้ธํารงอยู่สืบไป จึงได้เกิดพัฒนาการธรรมจักรในสังคมไทยต่อมา อันเป็นสัญลักษณ์ความดีงามแห่งการให้ความรู้คู่คุณธรรมในจิตใจ ของคนไทยมาช้านาน
อาณาจักรทวารวดีตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลองและอยู่ใกล้ทะเล ทำให้มีพ่อค้าต่างชาติ เช่น อินเดีย เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้ทวารวดีได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศิลปวัฒนธรรมอินเดีย เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นอารยธรรมทวารวดี แพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นที่ เมืองนครชัยศรี (นครปฐม) เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) เมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองศรีเทพ (เพชรบูรณ์) เมืองฟาแดดสงยาง (กาฬสินธุ์) เมืองไชยา (สุราษฎร์ธานี)ฯลฯ
การค้นพบธรรมจักรขนาดใหญ่ และจารึกภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่เมืองศรีเทพ แสดงให้เห็นว่าศรีเทพเคยเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายาน “ธรรมจักร”ในวันนี้ มีจำนวนไม่มากนัก ต่างกับคำยืนยันของชาวบ้านที่เดำรงชีวิตในบริเวณเมืองศรีเทพ นั้นเคยเห็น ธรรมจักรมีอยู่เกลื่อนกลาดไปทั่วเมือง…. หากแต่วันนี้ แทบไม่เหลืออีกแล้ว กระนั้นก็ตาม วัตถุโบราณอาจเปลี่ยนแปรคุณค่าเป็นสินค้าสำหรับนักสะสม แต่วงล้อแห่งธรรมเมื่อเริ่มต้นหมุนเพื่อสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามพ้นจากทุกข์ ใครๆ ในโลก ก็หมุน กลับไม่ได้ เพราะวงล้อแห่งธรรมะได้แสดงถึงสัจจะที่อยู่เหนือกาลแห่งเวลา.
ขอบคุณที่มาข้อมูลอ้างอิง
หนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี
https://artculture.pcru.ac.th/ebooks/documents/20.pdf
https://lek-prapai.org/home/view.php?id=787
http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/1572/fulltext.pdf?sequence=2&isAllowed=y
We had to cancel the insemination buy priligy in usa 33 Г… 2 ChemAxon Rotatable Bond Count 5 ChemAxon Refractivity 81