บันทึกคนหลงทาง : อัยย์ รินทร์

“ไปประชาสัมพันธ์ บอกต่อๆ กันนะ สีดำเป็นสีแห่งความรัก ดั่งศอ พระศิวะ รักแท้คือหัวใจสีดำ” คุณกิมไน้ สิริพฤกษ์เล่าถึงพระราชปฏิสันถารในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งที่มีโอกาสได้ทูลเกล้าถวายนิลแหวนโบราณ,ปราสาทเมืองสิงห์, ด่านเจดีย์สามองค์ , มณีเมือง- กาญจน์, สะพานข้ามแม่น้ำแคว สัญลักษณ์ของจังหวัดกาญจนบุรี คุณป้ากิมไน้ยังเล่าถึงพระราชดำรัสต่ออีกว่า

“เก่งมาก มีความคิดดีมาก รู้มั้ยว่านิลเป็นสมบัติของแผ่นดิน ต่อไปจะน้อยลงให้อนุรักษ์ไว้”ภายหลังจากได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินี นิลเริ่มเป็นที่รู้จักและเป็นรู้จักมากขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงนำนิลถวายแด่กษัตริย์อังกฤษ นับแต่นั้นมาเหล่านักท่องเที่ยวต่างแวะเวียนมาที่ร้านไม่ขาดสาย ผลิตภัณฑ์นิลเป็นที่ต้องการอย่างมากของเหล่านักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ

คุณกิมไน้ได้เล่าถึงชีวิตวัยเด็ก นอกจากต้องช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านเรือนแล้ววันหยุด ก็มักจะวนเวียนไปดูพวกคนงานขุดพลอย  เคยพยายามอ้อนวอนขอให้ ลุงฮอก หนี่และลุง สัจจะ ผู้ชำนาญการเจียพลอย ช่วยสอนแต่เขาไม่ยอมสอนให้ เก็บความรู้สึกนั้นไว้จวบจนเรียนหนังสือ จบ ม.ศ ๓ ออกมาเพาะถั่วงอกขาย รับซื้อผลไม้ ทำงานบ้าน กระทั่งถึงวัยออกเรือนมีครอบครัว แรก ๆ ไปอยู่บ้านสามีขายข้าวต้มไก่สับ แม้จะค้าขายดีแต่ก็ต้องแลกกับความเหน็ดเหนื่อย นานเข้าเริ่มรู้สึกไม่ไหว จึงหันกลับมารับซื้อนิล  ทั้ง ๆ ที่นิลนั้นแทบจะไม่มีค่า ไม่รู้ว่าจะเอามาทำอะไรด้วยซ้ำ อีกทั้งยังต้องเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้ชีวิตต้องพลิกผันเมื่อป้ากิมไน้ได้รับอุบัติเหตุจนขาหักต้องอยู่กับบ้าน ไม่รู้จะหารายได้จุนเจือครอบครัวอย่างไร

“เตี่ยมาเยี่ยมท่านจึงถามว่าอยากทำนิลมั้ย?” ด้วยความที่ชอบนิลอยู่แล้ว จึงตัดสินใจปรึกษาถึงความเป็นได้ ในการเปิดศูนย์อบรมวิชาชีพการเจียระไนพลอยและนิลให้แก่เด็กหรือคนที่ด้อยโอกาส เปิดสอนได้ถึงสามรุ่น เริ่มรู้สึกเครียดอีกครั้ง เพราะต้องจ่ายค่าแรงให้กับเด็กๆ   ยุคหนึ่งเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเป็นเหตุให้สินค้าผลิตภัณฑ์นิลต้องประสบกับปัญหาขาดทุน สินค้าคงคลังมากมาย  สายตามาหยุดที่พระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ร.๙ ราวกับเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ นึกถึงคำเตี่ย เต็งเส็ง แซ่อึ้ง ท่านพร่ำบอกกับคนในครอบครัวเสมอๆ  “อยู่เมืองไทยไม่อดตาย พระมหากษัตริย์ดีมาก”

“ทำนา ถ้าไม่ช่วยกันพลิกฟื้นผืนแผ่นดิน เราก็อดตาย ไม่มีอะไรกินกันแน่ แต่ถ้าหากเราช่วยกันทำ ผลผลิตที่ได้อาจจะช่วยหล่อเลี้ยงพวกเราให้ข้ามพ้นวิกฤติการณ์นี้ไปได้ แม้สีหน้าของบรรดาคนงานจะงุนงงกับสิ่งที่ป้าบอก แต่ทุกคนก็เข้าใจ แบ่งหน้าที่กันทำ ไม่นานรวงข้าวเขียวขจีเต็มผืนนา จนเราสามารถนำข้าวที่เกี่ยวมาได้ แบ่งส่วนหนึ่งเก็บเข้าเสบียงที่เหลือก็นำไปขาย นับตั้งแต่นั้นมีรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันธุระกิจร้านนิลก็เริ่มฟื้นคืนมา”

 พระอาทิตย์สาดแสงสุดท้าย ดอกหญ้าสะท้อนแสงสีทองทดแทนรวงข้าว  ทุกๆ เย็นคุณกิมไน้ สิริพฤกษาจะแวะเวียนไปที่แปลงนา ใช้เวลาหาความสำราญใจ ณ ที่นาแห่งนั้น ภาพของทุ่งนาที่มีรวงข้าวเต็มรวง ช่วยกอบกู้อุ้มชูครอบครัวสิริพฤกษาและคนงาน “คำสอนของเตี่ย ที่พร่ำบอกกับคนในครอบครัวเสมอ ๆ  ว่าอยู่เมืองไทยไม่อดตาย พระมหากษัตริย์ดีมาก ป้าดีใจที่ได้เกิดและอยู่ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช”

คุณกิมไน้ สิริพฤกษ กล่าวสรุปตอนท้าย ด้วยรอยยิ้มแห่งความปิติ จากสู่ผืนนาที่หล่อเลี้ยงทฤษฏีเกษตรพอเพียงศาสตร์ของพระราชาที่พระราชทานไว้ให้ปวงชนชาวไทยได้มีความสุขที่ยั่งยืน.   

บันทึกการเดินทาง : หนังสือนพมณีกาญจน์ ในรอยพระบาทยาตรากาญจนบุรีจัดพิมพ์โดย : สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชฏัชกาญจนบุรี