ทวาลัยมหาศิลานคร
คือพรแห่งบูรพา
อัปสรฟ้อนรำบูชา
นาฏศิลป์ยังแว่วยินทิพย์ดุริยางค์
พนมบาเค็ง ตะวันลับลา
พนมพนาฟ้าอาลัยลาสุริยงค์
บายนชัยคีรีมีดวงตาเฝ้ามอง
ดั่งองค์เทพไท้ชัยวรมัน
คืนวันพระองค์มองมาจากฟ้าไกล
ราชวิหารตาพรหมเป็นพยาน
อดีตกาลไม้ยืนยงนานแทรกประสานศิลา
……….
เทวาประสิทธิ์เนรมิตปราสาท
มนุษย์ประกาศเนรมิตกรรม
คือมรดกโลกงามตระการ
คือมรดกแห่งจักรวาล
คืออัศจรรย์บันดาลใจ
คือมหัศจรรย์เทวาลัย ลมใหายใจแห่งศิลา
เทวาลัยมหาศิลานครคือพรแห่งสุริยา
อัปสราหญิงงามละไม
ดุจเมฆยามอรุณ อังกอร์วัดเรืองราม
บันทายสรีหินทรายสีชมพู
บันเตียสเรยลวดลายศิลาดุจผ้าไหมแพร
สายลมอดีตไม่อาจทำลายลง
เอย…ยังคงคู่ฟ้าเทวาคุ้มครอง
กัมพูชานครศิลาอยู่คู่ฟ้าดิน
เป็นบุญตาชมเมืองพระนครก่อนแล้วค่อยตาย
เป็นบุญใจชมพระนครก่อนแล้วค่อยตาย
เฆินอังกอร์แตมะด็องสรับบานเฮย
……….
ซีอังกอร์แอนด์ดาย
ชมเมืองพระนครก่อนแล้วค่อยตาย
ชมเมืองพระนครก่อนแล้วค่อยตาย
บทเพลงและภาพวาดความประทับจากการที่ ศักดิ์สิริ มีสมสืบ
รวมภาพถ่าย ธีรภาพ โลหิตกุลที่ได้ท่องไปในดินแดนเพื่อนบ้านอาเซียน ร้อยเรียงเป็นอัลบั้มเพลง “สบตาอาเซียน”
ขอบพระคุณ :
ศักดิ์สิริ มีสมสืบ : คำร้อง/ทำนอง/ ดนตรี /ขับร้อง
ขอบคุณ รังสิต จงญาณสิทโธ (ป่อง ต้นกล้า) บรรเลงซอ
Music snack studio : บันทึกเสียง
ธีรภาพ โลหิตกุล :ภาพ “นครวัด-นครธม”
คุณเหมียวใจดี :ปะกันนะ
มหาศิลานคร
โดย ธีรภาพ โลหิตกุล
ประวัติศาสตร์กัมมพูชา ช่วงที่เรียกว่า “ยุคเมืองพระนคร” (Angkor Period) ระหว่าง พ.ศ.1370 – 1780 ถือเป็นยุครุ่งเรืองถึงขีดสุดของ อารยธรรมแห่งชนชาติขะแมร์ หรือเขมร หรือขอม* และอําจกล่าวได้ ว่าเป็นยุคแห่ง “มหาศิลานคร” เพราะเป็นยุคที่มีการนำหินมาสร้าง ปราสาท หรือ เทวาลัยถวายเป็น วิมานของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู และพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธนิกายมหายานกันอย่างมโหฬาร นอกจาก นครวัด ซึ่งเป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว ยังมีปราสาท หลังอื่น ๆ อีกมากมายนับได้กว่า 200 แห่ง
อันเป็นเหตุให้นักสำรวจชาวฝรั่งเศสอย่าง อองรี มูโอต์ ที่เดิน ทางเข้าไปเห็นในปี พ.ศ.2401 ถึงกับอุทานว่า “ปราสาทเหล่านี้ ยิ่ง ใหญ่เสียยิ่งกว่าสิ่งที่ชาวกรีก-โรมัน สร้างสรรค์ไว้เสียอีก” ต่อมา เมื่อ อาร์โนลด์ ทอยน์บี นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ เดินทางไปศึกษา เมืองพระนคร ในปี พ .ศ.2499 ก็ถึงกับบันทึก ไว้ในบทความของเขาตอน หนึ่งว่า “ชมเมืองพระนครก่อนแล้วค่อยตาย“ (See Angkor and die) หรือ “เฆิน อังกอร์ แต มะดอง สลับบานเฮย” (สำนวนแปลเป็นภาษา ขะแมร์ โดย ดร.ศานติ ภักดีคำ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร) ทั้งนี้ คำว่าเมืองพระนคร ถูกเรียกกันอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบันว่า “นครวัด นครธม” ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเสียมเรียบ ทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา
หมายเหตุ คำว่า “ขอม” มาจากคำว่า “ขะแมร์”+“กรอม” (แปล ว่า “ใต้” ) เป็น คําที่ชาวสยามในอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรสุโขทัย ใช้เรียกชาวขะแมร์หรือเขมรในเมืองพระนคร ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของ ล้านนาและสุโขทัย ไม่ใช่ชื่อที่ชาวขะแมร์หรือเขมรเรียกตนเอง