บันทึกคนหลงทาง : อัยย์ รินทร์
ภาพ : ศรยุทธ รุ่งเรือง
ชุมชนท่าพูดเป็นชุมชนที่มีมาพร้อมกับการสร้างวัดท่าพูด ดังปรากฏในหนังสือรับรองโดยสํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม ที่ระบุไว้ว่า
“…ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๒๗๕ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๑…” ตรงกับแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งพระนครกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๐๑) สอดคล้องข้อความจารึก บนอิฐมอญที่ค้นพบระหว่างการสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด ก้อนที่ ๑ “ปีมะเมีย” ก้อนที่ ๒ “จุลศักราชพันร้อยศก” ตลอดจนใบเสมาคู่ที่ทำด้วยหินทรายรอบพระอุโบสถ ซึ่งนิยมสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ย้อนไปในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ผู้คนกลุ่มหนึ่งอพยพครอบครัวมาถึงบริเวณนี้จึงตั้งบ้านเรือน ชุมชนและสร้างสำนักสงฆ์ชั่วคราวเพราะมีพระราชาคณะชื่อ “พระอาจารย์รด” ในขณะนั้นวัดท่าพูดกำลังจะกลายเป็นวัดร้าง เนื่องจากไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ชาวบ้านจึงอาราธนาพระอาจารย์รดให้มาจำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ ผู้คนที่อพยพกรุงศรีอยุธยาจึงย้ายมาปลูกบ้านอาศัยอยู่ริมแม่น้ำท่าจีนทางด้านใต้ของวัดท่าพูด
ครั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ สถาปนา “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” เป็นราชธานี มีพระราชดำริที่จะรวบรวมบรรดาพระราชาคณะที่อพยพภัยสงครามกลับมาอยู่พระอารามหลวงในกรุงธนบุรี โปรดให้ทหารออกติดตามค้นหาจนมาพบพระอาจารย์รดที่วัดท่าพูด ทหารได้แจ้งความประสงค์ว่า
“สมเด็จพระเจ้าตากสินให้อาราธนาไปจำพรรษาที่พระอารามหลวง กรุงธนบุรี” พระอาจารย์รด จึงบอกกับทหารให้กราบทูลสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า “ขอจำพรรษาอยู่ ณ วัดท่าพูดแห่งนี้ เพราะท่านรับอาราธนาจากประชาชนแถบบ้านท่าพูดแล้ว ให้อยู่เป็นที่พึ่งทางใจแก่ประชาชนยามที่บ้านเมืองกำลังวุ่นวาย อีกประการหนึ่งประชาชนก็ได้ให้ความเคารพนับถือดี และได้รับความสะดวกสบายด้วยประการทั้งปวง”
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทราบความประสงค์ของพระอาจารย์รด ทรงพระราชทานเรือกัญญา ๒ ลำ คานหาม ๑ อัน กระโถนถมปัทน์และกาน้ำลายเทพนม อย่างละ ๑ ชิ้น ถวายเป็นเครื่องประดับเกียรติยศ
ด้วยวิถีชีวิตที่ผูกพันแม่น้ำท่าจีน ทั้งในด้านการบริโภค สัญจร ค้าขาย ขนส่งสินค้า เป็นพื้นที่ในการปลูกข้าว ทำสวนผลไม้ อาทิ ส้มโอ หมาก ตลอดจนมีภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่เก็บรักษาและจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดท่าพูดมากมาย เพื่อให้อนุชนรุ่นใหม่ได้ศึกษาเรียนรู้ชุมชนเล็ก ๆ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน นอกจากนี้ยังมีตำรับอาหารพื้นบ้าน ที่คงไว้ซึ่งมนต์เสน่ห์ปลายจวักตำรับอาหารพื้นถิ่นที่สืบสานส่งต่อกันมากระทั่งทุกวันนี้
4B, C, suggesting that up regulation of SHP in LRRK2 GS astrocytes may be responsible for PIAS1 stabilization priligy without prescription Optimal stimulation protocols for in vitro fertilization