พ.ศ. 1792-2006 : อาณาจักรสุโขทัย
เขื่อนสรีดภงส (สรีดภงส์) หรือ ทำนบพระร่วง เป็นคันดินโบราณ ซึ่งในยุคหลังได้สร้างต่อเติมเป็นแนวระหว่างเขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายม้าเพื่อใช้กักเก็บน้ำที่ไหลจากหุบเขาในโซกพระร่วง เป็นที่เชื่อกันว่าแต่เดิมน่าจะสร้างโดยกษัตริย์สุโขทัยพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ดังหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 2 และ 3” สะท้อนการปกครองของกษัตริย์ผู้ให้ความสำคัญกับการอยู่ดีกินดีของประชาชน ใจความว่า
“…กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีนํ้าตระพังโพยสี ใสกินดี…ดั่งกินนํ้าโขง เมื่อแล้ง…เบื้องตะวันโอกเมืองสุโขทัยนี้ มีพีหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมาก ป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน…เบื้องหัวนอน เมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎี พีหารปู่ครูอยู่มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีนํ้าโคก มีพระขพุง…”
เพื่อกั้นช่องเขา กักน้ำไว้นอกกำแพงเมืองสุโขทัย (ระหว่างซอกเขาใกล้ตัวเมือง) แล้วชักน้ำจากทำนบให้ไหลลงคูเมือง ผ่านลำคลองเสาหอไปหล่อเลี้ยงประชาชนในตัวเมือง ถือเป็น “ระบบน้ำสมัยแรก”
แล้วระบายน้ำส่วนเกินจากคูเมืองผ่านท่อน้ำดินเผา (ท่อสังคโลก) สู่ “ตระพัง” (อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่กลางเมืองสุโขทัย) โดยให้ล้นจากตระพังหนึ่งไปอีกตระพัง กระทั่งลงสู่คลองแม่รำพันและไหลลงแม่น้ำยมโดยไม่ท่วมขังในเมือง (มี 4 แห่งคือ ตระพังเงิน ตระพังทอง ตระพังตระกวน และตระพังโพยสี บริเวณที่นํ้าจะไหลลงตระพัง เรียกว่า “โซกพระร่วง” มีลักษณะคล้ายถํ้าตื้นๆ มีแอ่งนํ้าอยู่ภายใน)
(อ้างอิง การประปานครหลวง. “ศตวรรษสดุดี สายธารีแห่งนครา”. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. กรุงเทพ, 2557)
can you buy priligy online In general, this assessment process considers a wide variety of factors relevant to overall adaptation