อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เมืองศรีเทพ ดงแม่นางเมือง เมืองจันเสน เมืองซับจําปา เมืองโบราณต่าง ๆ นั้นต้องล่มสลาย ด้วยข้อสังเกตที่ว่าปัจจัยแห่งความเปลี่ยนแปลงระดับน้ําทะเลลดลง พื้นที่เคยจมอยู่ใต้กลายเป็นดินแดนใหม่ หรือเป็นเพราะว่าสภาพสังคมที่ปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะทางกายภาพ บางทีโรคร้ายที่แพร่ระบาดผ่านการเดินทาง ค้าขาย หรือไม่? สงครามแย่งชิงอำนาจ ไม่มีสิ่งใดยืนยันได้ หากแต่ทุก ๆ บริบทย่อมมีปัจจัยเชื่อมโยง เป็นห่วงโซ่แห่งสัมพันธภาพโลกไม่เคยหยุดนิ่ง วิวัฒนาการความคิดของมนุษย์ นำพาไปสู่ยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลงและกาลเวลาเท่านั้น…
บันทึกคนหลงทาง
เรื่องและภาพ : อัยย์ รินทร์
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของแต่ละช่วงยุคสมัย มนุษย์ สังคม ชุมชนและการกำเนิดของแหล่งอารยธรรมโบราณ กฏเกณฑ์แห่งสัจจะของการ เกิด-ตั้งอยู่และดับสลาย เสมือนคลื่นใหม่ที่โถมซัดคลื่นลูกเก่าจนลับหายไป หลาย ๆ สิ่งยังแต่หลงเหลือหลักฐานให้เห็นประจักษ์ชัด เป็นครั้งแรกที่ผมได้มาเยือนอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๒,๘๘๙ ไร่ หรือประมาณ ๔.๗ ตารางกิโลเมตร อันประกอบไปด้วยโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย ที่ปรากฏหลักฐานการรวมกลุ่มตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ บริเวณลุ่มแม่น้ําป่าสักและลําน้ําสายรองจํานวนหลายแหล่ง ชุมชนเกษตรกรรมที่มีรากฐาน ทางสังคม วัฒนธรรม และมีความรู้ทางด้านการจัดการน้ํา ทั้งยังมีความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย ผ่านพิธีกรรมฝัง ศพพร้อมเครื่องอุทิศ
อาจกล่าวได้ว่าเมืองศรีเทพนั้นตั้งอยู่บนเส้นทางการติดต่อระหว่าง ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อ้างอิงจากหลักฐานที่ได้ค้นพบว่ามีการติดต่อกับโลกภายนอกได้แก่ หวีงาช้าง กุณฑี ตราประทับ ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดแก้ว ที่มีแหล่งผลิตอยู่ในประเทศอินเดีย รวมถึงภาชนะดินเผาแบบพิมายดํา พบมากในบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ํามูลตอนบน จึงเป็นไปได้ว่าชุมชนแห่งนี้มีการติดต่อกับอินเดีย โดยผ่านชุมชนร่วมสมัยในพื้นที่ภาคกลางที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลมากและติดต่อกับชุมชนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือผ่านเส้นทางข้ามแนวเขาพังเหย ซึ่งจะเป็นบทบาทที่สําคัญ
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เมืองศรีเทพ ดงแม่นางเมือง เมืองจันเสน เมืองซับจําปา เมืองโบราณต่าง ๆ นั้นต้องล่มสลาย ด้วยข้อสังเกตที่ว่าปัจจัยแห่งความเปลี่ยนแปลงระดับน้ําทะเลลดลง พื้นที่เคยจมอยู่ใต้กลายเป็นดินแดนใหม่ สภาพสังคมที่ปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะทางกายภาพ ภูมิภาค การแพร่ระบาดของโรคร้ายที่เคลื่อนผ่านการเดินทาง ค้าขาย ไม่มีสิ่งใดยืนยันได้ หากแต่ทุก ๆ บริบทย่อมมีปัจจัยที่เชื่อมโยงเป็นห่วงโซ่แห่งสัมพันธภาพและนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง…กาลเวลาเท่านั้นคือคำตอบ
หนังสือ “นิทานโบราณคดี” พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้ กล่าวถึงเรื่อง “ความไข้เมืองเพชรบูรณ์” อันเป็นเรื่องราวคราวที่พระองค์เสด็จไปตรวจราชการเมือง เพชรบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗ ในฐานะเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงบันทึกถึงความตั้งใจในการค้นหาเมืองปริศนาที่ทรงพบรายชื่อปรากฏในทําเนียบหัวเมืองเก่าและต้นราง กะทาง ให้คนเชิญข่าวไปบอกเรื่องการสวรรคตของรัชกาลที่ ๒ ซึ่งได้ทรงคะเนว่าอยู่ทางแม่น้ําป่าสัก แต่ทรงไม่ทราบตําแหน่งที่ชัดเจน
ขณะประทับอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์ได้ความว่ามีเมืองโบราณขนาดใหญ่ เมืองหนึ่งชื่อเมือง “อภัยสาลี” อยู่ในป่าแดงใกล้กับเมืองวิเชียรบุรี เมื่อเสด็จกลับถึงเมืองวิเชียรบุรี แวะเยี่ยมเยียนพระยาประเสริฐสงครามอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดที่ออกจากราชการและแก่ตัวลงมาก แล้วทรงไต่ถามเรื่องเมืองศรีเทพ ได้ความว่าคือเป็นชื่อเดิมของเมืองวิเชียรบุรี เรียกว่าเมือง “ท่าโรง” หรือ “เมืองศรีเทพ” มีเจ้าเมืองชื่อ “พระศรีถมอรัตน์” (ตามชื่อเขาแก้วหรือเขาถมอรัตน์) และเมืองศรีเทพถูกลดบทบาทในกาลต่อมา
เศษใบไม้ ฝุ่นละอองทับถมจากวันสู่เดือน เป็นปี ข้ามศตวรรษ ทุก ๆ สิ่งล้วนมีขอบเขตภายใต้บทบัญญัติแห่งการเกิดขึ้น แปรเปลี่ยนไปตามวิวัฒนาการ ของแต่ละยุคสมัย แต่คำตอบเห็นได้เด่นชัด นั่นคือความเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีอะไรยั่งยืน มั่นคง.
ขอบคุณที่มาข้อมูลอ้างอิง
หนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี
https://artculture.pcru.ac.th/ebooks/documents/20.pdf