ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเป็นภาพประชันฝีมือระหว่างสองสุดยอดช่างในสมัยรัชกาลที่ ๓  หลวงวิจิตรเจษฎา (ครูทองอยู่) กับหลวงเสนีย์บริรักษ์ (ครูคงแป๊ะ) ใช้ม่านกั้นเพื่อ ไม่ให้มองเห็นผลงานซึ่งกันและกัน  ครูทองอยู่วาดทศชาติ“เนมิราช”ชาดก ส่วนครูคงเขียนภาพ “มโหสถชาดก” ที่เน้นรายละเอียดผู้คน ทั้งคนไทย จีน ฝรั่ง ด้วยการดัดแปลงเทคนิคแบบจีนมาใช้ ไม่มีรู้ถึงคำติดสินว่าใครแพ้ใครชนะ แต่ผลงานอันเอกอุของครูทั้งสองที่ทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์นั้นล้ำค่าเกินกว่าจะถูกตัดสิน 

หลายปีก่อนผมชอบมานั่งเล่นในพระอุโบสถแห่งนี้  กระทั่งได้กลับมาเยือนอีกครั้ง ทุกอย่างเปลี่ยนไปตามกาล สีของภาพทศชาติชาดกตอน “เนมิราช”และ “มโหสถชาดก”กร่อนเทาะหลุดออกจากผนังบางส่วนเลือนราง ทว่าภาพรวมยังปรากฏความงดงามที่ข้ามผ่านกาลเวล

เรื่องราวบางอย่างเกิดขึ้นกับยุคสมัยที่ต่างคนต่างมีความคิดและสิทธิ บ้าน-เมืองถูกสร้างจากรากฐานที่มั่นคง ๆ ก็แค่บางอย่างที่เปลี่ยนไปตามกฏเกณฑ์ของการเปลี่ยนแปลง 

แม้โลกภายนอกจะเห็นถึงความเจริญก้าวหน้า แต่โลกภายในบางครั้งก็ต้องการพื้นที่สงบเพื่อทบทวนและตั้งสติ …”ชัยชนะ”อาจ ไม่จำเป็นต้องได้รับการชูมือตัดสินให้คะแนน หากแต่ เราเท่านั้นที่รู้คำตอบ


: สุชาติ ชูลี