ตำรับโบราณที่หารับประทานยาก อาจเป็นเพราะว่าขั้นตอนการทำค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้เวลาในการหากรุบมะพร้าวหรือกะลาอ่อนมะพร้าว วัตถุดิบหลักที่คนโบราณดัดแปลงเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย แต่เดิมนั้นด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์นานาชนิดในแม่น้ำลำคลอง จึงมีวัตถุดิบชั้นเลิศ เช่นเดียวกับตะพาบน้ำ ที่ถูกนำมาทำเป็นตำรับอาหารในรั้วในวัง ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ได้บันทึก แกงคั่วส้มตะพาบน้ำไว้ในตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ว่า
“ถ้าตะพาบน้ำตัวใหญ่ เนื้อจะเหนียว แข็ง ซึ่งต้องเคี่ยวนานหน่อย พอเนื้ออ่อนดี วิธีจะทำเนื้อตะพาบน้ำเมื่อตายแล้ว ต้องเอาขึ้นเผาไฟ เพราะเป็นสัตว์เลือดเย็น ถ้าจะหั่นทำแต่ตายสด ๆ เนื้อไม่สู้สนิทแลมีคาวมาก เผาแล้วตัดเชิงต่างหากเนื้อต่างหาก เชิงนั้นหั่นเป็นชิ้นพอดีอย่าให้บางนัก เนื้อหั่นชิ้นเล็ก ๆ แกงขั้วส้มเช่นนี้ใช้หนังปลาโลมา หรือเนื้อหนังหมู หัวสุกร แทนตะพาบน้ำก็ได้เหมือนกัน”
“คนรุ่นหลังก็จะไม่ค่อยรู้จักกันแล้ว อีกทั้งมีความยุ่งยาก ต้องใช้เวลาเพราะต้องหากรุบมะพร้าว ที่ฉันทำก็อยากจะรักษาและให้พวกเขาได้เรียนรู้ วิถีอาหารการกินของคนโบราณรับประทานกันอย่างไร แล้วมันมีดีอะไร มีประโยชน์อย่างไร อยากเชิญชวนมาชิมนะคะ ขาหมูมะดันกรุบมะพร้าว สูตรของชุมชนทรงคนอง”
รัดเกล้า มีกุล
จากหนังสือ : ตำรับเก่าเล่าเรื่อง ณ เมืองนครชัยศรี
จัดพิมพ์โดย
โครงการวิจัยจากเก่าสู่เก๋า นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ-มรดกทางวัฒนธรรม ที่ล้ำค่าของมณฑลนครชัยศรี
ผศ.ดร.ศริยามน ติรพัฒน์ : ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย
เรียบเรียง : สุชาติ ชูลี
ภาพประกอบ:ศรยุทธ รุ่งเรือง
When analyzing hospitalization free survival time, there was also no significant difference hazard ratio 0 order priligy online uk Genetic screens were for long the prerogative of those that studied model organisms