ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กระเจี๊ยบเขียว, มะเขือมอญ, มะเขือทวาย (ภาคกลาง), มะเขือมื่น ,มะเขือละโว้ (ภาคเหนือ), กะต๊าด (สมุทรปราการ), ถั่วและ (ภาคอีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus (L.) Moench
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hibiscus esculentus Linn
ชื่อสามัญ Okra, Lady’s finger, Gombo, Bindi
วงศ์ MALVACEAE

451844045 1168499884316950 6517131081136338432 n

ถิ่นกำเนิดกระเจี๊ยบมอญ

ถิ่นกำเนิดที่แท้จริงของกระเจี๊ยบมอญนั้นนักพฤกษศาสตร์ระบุว่ายังไม่ทราบแน่ชัดเนื่องจากมีการปลูกแต่โบราณแล้ว และมีการปลูกแพร่หลายในระยะเวลาใกล้กัน มีการค้นพบกระเจี๊ยบมอญ สายพันธุ์ป่าของเอธิโอเปีย ในรัฐที่ใกล้กับแม่น้ำไนล์ และสายพันธุ์เก่าแก่ที่เป็นไม้ยืนต้นในแอฟริกาตะวันตก ซึ่งอาจบ่งบอกว่าถิ่นกำเนิดของกระเจี๊ยบมอญอยู่ในทวีปแอฟริกา และเป็นไปได้ว่าอาจจะมีถิ่นกำเนิดใน Ethiopia หรือ Eritrea และแพร่กระจายไปยังทางเหนือ และตะวันออกของประเทศอินเดีย และแอฟริกาตะวันตก 

ประโยชน์และสรรพคุณกระเจี๊ยบมอญ

  • บำรุงสมอง
  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้
  • บำรุงตับ
  • บำรุงข้อกระดูก
  • ช่วยลดความดัน
  • ช่วยป้องกันอาการหลอดเลือดตีบตัน
  • แก้หวัด
  • ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • รักษาโรคกระเพาะ แผลในกระเพาะ
  • แก้บิด
  • แก้กรดไหลย้อน
  • ช่วยขับพยาธิ
  • ช่วยขับเหงื่อ
  • ช่วยแก้อาการขัดเบา
  • รักษาโรคหนองใน
  • แก้ปากนกกระจอก
  • ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอล
  • แก้ปวดบวม
  • ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น
  • แก้ซิฟิลิส
  • รักษาฝี
  • รักษาแผล
451692896 516159924169056 1061070086198755998 n

ขอบคุณข้อมูลแหล่งที่มา :

https://www.disthai.com/17341132/กระเจี๊ยบมอญ